ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แพทย์

แพทย์ (อังกฤษ: physician, doctor) หรือเรียกเป็นภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบทแพทย์อาจถูกเรียกเป็น "หมอใหญ่" เพื่อเลี่ยงความสับสนกับการเรียกพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขต่างๆ แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้กับผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่นๆ

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การเข้าศึกษาแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

ปัจจุบันมีหน่วยงานชื่อว่า กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ทำหน้าที่จัดสอบคัดเลือกและประกาศผลนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่หกเพื่อเข้ารับการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีการรับนักเรียนตามโครงการต่างๆ อีกหลายโครงการ

[แก้] การเรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

การเรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทยใช้เวลาเรียน 6 ปี ปีแรกเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไปเน้นเกี่ยวข้องทางชีววิทยา ปีที่ 2-3 เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เรียกระยะนี้ว่า ปรีคลินิก (Preclinic) ปีที่ 4-5 เรียนและฝึกงานผู้ป่วยจริงร่วมกับแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์ เรียกระยะนี้ว่า ชั้นคลินิก (Clinic) และปีสุดท้ายเน้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์เรียกระยะนี้ว่า เอกซ์เทอร์น (Extern)

[แก้] แพทย์จบใหม่ในประเทศไทย

เมื่อนักเรียนแพทย์ในประเทศไทยศึกษาจบแพทยศาสตรบัณฑิต บัณฑิตแพทย์ต้องมีการทำงานหรือการชดใช้ทุนของแพทย์เป็นเวลา 3 ปี โดยกำหนดให้ทำงานให้รัฐบาล ซึ่งหากผิดสัญญาต้องจ่ายค่าชดเชยให้รัฐตามแต่สัญญาซึ่งทำไว้ตั้งแต่ก่อนเข้ารับการศึกษากำหนด ในปีแรกแพทยสภากำหนดให้มีการฝึกปฏิบัติงานเพิ่มเติมในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งเรียกระยะนี้ว่า อินเทอร์น (Intern)

[แก้] แพทย์เฉพาะทาง

หลังจากที่บัณฑิตแพทย์สำเร็จการศึกษาออกมาและได้เพิ่มพูนทักษะตามจำนวนปีที่แพทยสภา (Medical concils of Thailand) เป็นผู้กำหนดแล้ว สามารถสมัครเพื่ออบรมเป็นแพทย์ประจำบ้าน (Medical Resident) และเมื่อจบหลักสูตรการอบรมและสามารถสอบใบรับรองจากราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆได้แล้ว จึงจะได้เป็นแพทย์เฉพาะทางได้ต่อไป

[แก้] สาขาของแพทย์เฉพาะทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น